บริการด้านกงสุล

บริการด้านกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 6 ก.ค. 2566

| 33,382 view

งานบริการด้านการกงสุลและการคุ้มครอง

1. ทำอย่างไรเมื่อหนังสือเดินทางหายภายในมลฑลกวางตุ้งและไห่หนาน
2. การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
3. กรณีเสียชีวิต
4. ค่าธรรมเนียมต่างๆ
5. ระบบการแจ้งเบาะแสผู้ประสบปัญหาทางสังคม
6. การออกหนังสือรับรองความประพฤติ (Thai Police Clearance Certificate)
7. การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

 


 
1. ทำอย่างไรเมื่อหนังสือเดินทางหายภายในมลฑลกวางตุ้งและไห่หนาน


1.  แจ้งความกับตำรวจท้องถิ่นในท้องที่ที่ทำหนังสือเดินทางหาย
2. นำใบแจ้งความไปที่กองตรวจคนเข้าเมืองของเมืองที่ทำหนังสือเดินทางหาย เพื่อที่กองตรวจคนเข้าเมืองจะออกใบสำคัญแจ้งความให้
3. นำใบสำคัญแจ้งความจากกองตรวจคนเข้าเมืองมายื่นให้สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจว ออกหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity – CI)
4. นำ CI ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ออกให้และใบสำคัญแจ้งความที่กองตรวจคนเข้าเมืองออกให้ ไปทำวีซ่าขาออกที่กองตรวจคนเข้าเมืองของเมืองที่ไปแจ้งความไว้ เพื่อใช้ในการเดินทางกลับประเทศไทย

 



2. การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่
1. กรณีที่ยังไม่บรรลุนิภาวะ จะต้อง พาบิดาและมารดามาให้ความยินยอมที่สถานกงสุลใหญ่ โดยนำสูติบัตรหรือบัตรประชาชนของผู้ขอ ทะเบียนสมรสของบิดามารดา หนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา ทะเบียนบ้าน มาดำเนิการ
2. กรณีบรรลุนิติภาวะ นำบัตรประชาชนและหนังสือเดินทางที่จะหมดอายุ มาทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ก่อน หมดอายุภายใน 6 เดือน

 




3. กรณีเสียชีวิต
       ญาติต้องติดต่อสถานกงสุลใหญ่ เพื่อออกใบมรณบัตร โดยนำหลักฐานการเสียชีวิตจากหน่วยงานจีนซึ่งได้ทำนิติกรณ์แล้ว เช่น โรงพยาบาลและหนังสือเดินทางของผู้ตายไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ญาติผู้เสียชีวิตเป็นผู้จัดการศพโดยติดต่อกับหน่วยงานจัดการศพของเมืองนั้นๆ ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ หากญาติประสงค์จะเผาศพและนำอัฐิกลับประเทศไทย จะเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 7,000-20,00 หยวน แต่หากประสงค์จะนำศพกลับประเทศไทย แต่ละมลฑลในเขตอาณาที่สถานกงสุลใหญ่ดูแลมีอัตราค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันโดยหน่วยงานจัดการศพจะติดป้ายชี้แจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายไว้โดยละเอียด อัตราค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 50,000-100,000 หยวน หรือในบางพื้นที่อาจมีอัตราที่สูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้พาหนะในการขนส่งหลายต่อ และใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 3-5 วัน


                 ขั้นตอนเกี่ยวกับการดำเนินการเมื่อคนไทยเสียชีวิตในจีนและต้องการนำศพกลับประเทศ
1. กรณีเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต
    ถ้าเสียชีวิตในที่พักชั่วคราว เช่นที่โรงแรมหรือห้องเช่า จะต้องแจ้งตำรวจเพื่อการตรวจสอบว่าเป็นการฆาตกรรมหรือไม่ และแพทย์ต้องตรวจสอบว่าเสียชีวิตด้วยสาเหตุอะไร
2. โรงพยาบาลออกหนังสือรับรองการเสียชีวิต ญาติผู้ตายนำไปให้ตำรวจในท้องที่เสียชีวิตออกมรณบัตร
3. ตำรวจนำศพไปเก็บไว้ที่สุสาน ซึ่งเป็นของเทศบาล (แต่ละเมืองมีแห่งเดียว) และญาติผู้ตายจะต้องเป็นผู้ดำเนินเรื่องเกี่ยวกับการนำศพกลับประเทศเอง โดยให้บริษัทท่องเที่ยวติดต่อกับบริษัทผู้ดำเนินการจัดการศพ ซึ่งจะดำเนินการให้ทุกขั้นตอนจนนำศพออกนอกประเทศ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 250,000 – 300,000 บาท ไม่แน่นอน
4. นำมรณบัตรที่ทางการจีนออกให้ ไปรับรองนิติกรณ์จากทางการจีน เพื่อให้เป็นเอกสารที่ถูกต้อง หลังจากนั้นนำมาที่สถานกงสุลไทย เพื่อออกใบมรณบัตร เพื่อที่จะได้นำไปใช้ที่ประเทศไทย พร้อมทั้งนำหนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิตมายกเลิก
5. การดำเนินการที่สุสาน
     5.1 ทางสุสานจะดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรักษาศพ  ฉีดฟอร์มาลีน ทำความสะอาดศพ ตามขั้นตอนโดยถูกสุขอนามัยในการนำศพออกไปนอกประเทศ ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่  09.00-16.30 น. (ไม่อนุญาตให้ญาติเข้าไปดู) โรงบรรจุศพ (ราคาไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าจะเอา ของดีขนาดไหน) และกล่อง บรรจุโลงศพ (รวม 2 ชั้น) เพื่อส่งกลับนอกประเทศ ดำเนินการส่งศพไปสนามบินมีค่าใช้จ่ายใน การนี้ประมาณ 30,00-50,000 หยวน
     5.2  บริษัทเอกชนซึ่งรับดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ (มีค่าใช้จ่ายประมาณ 20,000-40,000 หยวน)
          5.2.1 นำเอกสารที่สุสานออกให้ ไปทำนิติกรณ์
          5.2.2  นำเอกสารที่ได้รับรองนิติกรณ์แล้วไป ให้ ซี.ไอ.คิว. (Airport Entry-Exit Inspection & Quarantine Bureau) ตรวจสอบ และถ้าเอกสารทั้งหมดครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่ ซี.ไอ.คิว. จึงจะไปตรวจศพ และปิดโรงศพพร้อมทั้งประทับตรารับรองที่โรงศพ หลังจากนั้น ซี.ไอ.คิว. ก็จะกลับไปที่สำนักงาน ออกหนังสือรับรองเพื่อให้นำศพออกนอกประเทศได้
          5.2.3  เจ้าหน้าที่ของบริษัทจะนำหนังสือที่ ซี.ไอ.คิว. ออกให้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเมื่อศุลกากรอนุญาตแล้ว ก็จะไปติดต่อกับบริษัทคาร์โก  เพื่อนัดเวลาของเที่ยวบิน ในการส่งศพกลับประเทศ
          5.2.4  เจ้าหน้าที่บริษัทจะติดต่อกับสุสาน เพื่อนำศพไปส่งให้ที่คาร์โก และเจ้าหน้าที่ของบริษัทคาร์โก ก็จะนำศพขึ้นเครื่องบิน    
          5.2.2  เอกสารที่ได้รับรองนิติกรณ์ (สุสานออกให้) และเอกสารของซี.ไอ.คิว.บริษัทจะมอบให้ญาติผู้เสียชีวิต 1 ชุด เพื่อมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศที่รับศพ (ประเทศไทย)
6. ญาติจะต้องนำหนังสือเดินทางของผู้ตายและใบมรณบัตรที่ทางการจีนออกให้ไปยกเลิกวีซ่าที่กองตรวจคนเข้าเมืองกวางโจว หรือกองตรวจคนเข้าเมือง ในเมืองที่จะนำศพออกนอกประเทศ ก่อนที่จะนำศพออกนอกประเทศ
7. ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ นี้ จะใช้เวลา  3- 5 วัน (ไม่นับวันหยุดราชการ) โดยบริษัทจัดการศพเป็นผู้ดำเนินการเสร็จให้ทุกขั้นตอน (เพราะญาติไม่สามารถดำเนินการได้เอง)



4. ค่าธรรมเนียมต่างๆ
 

List รายการ ราคา (หยวน)
New Passport หนังสือเดินทางใหม่ 350
Certificate of Indentity-CI (In case of Lost Passport)  หนังสือประจำตัว
(กรณีหนังสือเดินทางหาย)
70


 




5. การแจ้งเบาะแสผู้ประสบปัญหาทางสังคม
    5.1 ประเภทผู้ใช้งานระบบ สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ
          5.1.1 ผู้ประสบปัญหาทางสังคม ที่ต้องการเข้ามาแจ้งปัญหาของตนเอง
          5.1.2 ผู้แจ้งแทน เป็นบุคคลที่พบเห็นผู้ประสบปัญหาทางสังคม และต้องการแจ้งเบาะแส
    5.2 ประเภทผู้ประสบปัญหา ได้แก่
          เด็กและเยาวชน, คนพิการ, ผู้สูงอายุ, สตรี, ผู้ติดเชื้อเอดส์, ผู้ไร้ที่พึ่ง, ผู้มีรายได้น้อย, ผู้ประสบภัย, คนต่างด้าว
    สามารถเข้าไปดูรายละเอียด และแจ้งเบาะแสได้ที่ http://1300.m-society.go.th   

 



6. การออกหนังสือรับรองความประพฤติ (Thai Police Clearance Certificate)

       สำหรับประชาชนที่ประสงค์เดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อ, สมรส, ทำงาน หรืออื่นๆ

       For applicant who needs to travel abroad for the purpose of education, marriage, occupation or migration.

 

    6.1 หลักฐานที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา (พร้อมสำเนาและรับรองความถูกต้อง)

          Document required for Police Clearance Application (with certified photocopy)

    สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ต่างประเทศ

    6.1.1 บุคคลสัญชาติไทย

        -           สำเนาหนังสือเดินทาง

        -           สำเนาบัตรประชาชน

        -           สำเนาทะเบียนบ้าน

        -           สำเนาหลักฐานเปลื่อนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)

        -           สำเนาหลักฐานทางทหาร (สด.9.43ฯ) (ถ้ามี)

        -           สำเนาใบสำคัญการสมรส หรือหย่า (ถ้ามี)

        -           รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

        -           แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ จำนวน 3 แผ่น

    (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือสถานีตำรวจในประเทศที่พำนักอยู่)

        -           ซองไปรษณีย์จ่าหน้าถึงตัวเองเพื่อจะได้จัดส่งกลับ

   6.1.2 บุคคลสัญชาติอื่น

       -           สำเนาหนังสือเดินทาง

       -           เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเคยทำงานหรือเคยพำนักอยู่ในประเทศไทย

       -           สำเนาหนังสืออนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (ถ้ามี)

       -           รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

       -           แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือ จำนวน 3 แผ่น

    (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานีตำรวจในประเทศที่พำนักอยู่)

       -           ซองไปรษณีย์จ่าหน้าถึงตัวเองเพื่อจะได้จัดส่งกลับ

         Applicant residing Abroad

   6.1.1 Thai national applicant

       -           A photocopy of current passport.

       -           A photocopy of Thai ID card.

       -           A photocopy of House registration.

       -           In case of name or surname change, a photocopy of name or surname change certificate  is required.

       -           A photocopy of Marriage certificate or Divorce certificate (if available)

       -           Two Photographs (1 inch by 2 inches)

       -           Three sets of fingerprint. Fingerprint must be taken at local Police or Thai Consulate or Thai Embassy in your country together with the official seal and signature of the official taking the fingerprint.

       -           AN envelope with pre-paid stamps and applicant’s address to mail certificate back to the applicant.

   6.1.2 Foreign applicant.

       -           A photocopy of Passport.

       -           Document(s) stating that the applicant is used to work or live in Thailand.

       -           A photocopy of Thai Working Permit (if available)

       -           Two Photographs ( 1 inch by 2 inches)

       -           Three sets of fingerprint. Fingerprint must be taken at local Police or Thai Consulate or Thai Embassy in your country together with the official seal and signature of the official taking the fingerprint.

       -           An envelope with pre-paid stamps and applicant’s address to mail certificate back to the applicant.

   6.2 ระยะเวลาดำเนินการ 7 วันทำการ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

Police Clearance Certificate processing time/ 7 working days, No fee for Police Clearance Service.

         สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sb.police.go.th

 



7. การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

1. มีสัญชาติไทย (หากได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี)

2. มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง

3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตการเลือกตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

4. มีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้แจ้งความประสงค์ขอลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรแล้ว

 

วิธีลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

 

- กรอกคำร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (ดาวน์โหลดใบคำร้องฯ) แล้วส่งไปที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ทางไปรษณีย์หรือทางโทรสาร พร้อมแนบสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเดินทางมายื่นด้วยด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ ซึ่งต้องกระทำให้แล้วเสร็จ 30 วันก่อนถึงกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป

 

การแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิได้

 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรแต่ไม่ไปใช้สิทธินั้น ต้องแจ้งเหตุจำเป็นที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ โดยทำเป็นหนังสือถึงสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยยื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์หรือทางโทรสารหรือทำหนังสือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

 

ผู้ไม่ไปใช้สิทธิและมิได้แจ้งเหตุ จะเสียสิทธิ 8 ประการ ดังนี้

1. สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

2. สมัครรับเลือกเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

3. ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

4. ร้องคัดค้านการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

5. เข้าชื่อให้รัฐสภาพิจารณากฎหมาย

6. เข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น

7. เข้าชื่อให้ ส.ว. ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

8. เข้าชื่อให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

 

การปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

นอกราชอาณาจักรให้เป็นปัจจุบัน

 

ด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางและวิธีการ เพื่อปรับปรุงทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดและนอกราชอาณาจักรให้เป็นปัจจุบัน ในการนี้ สถานกงสถลใหญ่ฯ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในมณฑลกวางตุ้งและไห่หนานทราบ ดังนี้

                     1. ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีชื่อในทะเบียนบ้านในประเทศไทย และยังไม่เคยลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร หากประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ให้กรอกแบบฟอร์มคำร้องขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (ดาวน์โหลดใบคำร้องฯ) พร้อมแนบสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ยื่นต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                     2. ผู้ที่ได้ลงทะเบียนเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไว้แล้ว และได้ย้ายถิ่นที่อยู่ไปนอกมณฑลกวางตุ้งและไห่หนาน หรือย้ายไปประเทศอื่น และประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในอาณาเขตความรับผิดชอบของสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ อื่น ให้กรอกแบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (ดาวน์โหลดใบคำร้องฯ) พร้อมแนบสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนยื่นต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว หรือสถานทูต/สถานกงสุลใหญ่ฯ ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

             3. ผู้ที่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร และจะเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการถาวร ให้แจ้งถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร เพื่อกลับไปใช้สิทธิเลือกตั้งในประเทศไทย โดยกรอกแบบฟอร์มคำร้องขอเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (ดาวน์โหลดใบคำร้องฯ) พร้อมแนบสำเนาหนังสือเดินทางหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ยื่นต่อสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว หรือที่ว่าการเขต/อำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในประเทศไทย

  ช่องทางการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ

- ทางไปรษณีย์ และด้วยตนเอง

           Royal Thai Consulate-General, Guangzhou   

           Garden Hotel, M07

           368 Huanshi Dong Lu, Guangzhou, PRC 510064

- ทางโทรสารหมายเลข (86-20) 8388-9567