ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๗ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ Announcement of the Prince Mahidol Laureates 2018

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๗ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ Announcement of the Prince Mahidol Laureates 2018

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ธ.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 782 view

ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๗ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ 

              เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เข้าร่วมงานแถลงข่าวประกาศผลผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๗ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ โรงพยาบาลศิริราช ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ นายสตัฟฟาน แฮร์สเตริม เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรสวีเดนประจำประเทศไทย และนายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ มีดังต่อไปนี้

           สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ดรูเคอร์ (Professor Brian J. Druker) และศาสตราจารย์ ดร. แมรี่ แคลร์ คิง (Professor Dr. Mary-Claire King) จากสหรัฐอเมริกา

           ศาสตราจารย์นายแพทย์ไบรอัน เจ. ดรูเคอร์ เป็นผู้นำในการพัฒนาหนึ่งในยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คืออิมาทินิบ (Imatinib) สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล (CML)

           ศาสตราจารย์ ดร. แมรี่ แคลร์ คิง เป็นผู้ค้นพบยีนอันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในเพศหญิง มีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งเต้านม ปีละกว่าสองล้านคน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากถึงสองแสนคนต่อปี

           ผลงานการค้นพบที่สำคัญของทั้งสองท่านทำให้สามารถคัดกรองบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยง และสามารถวางแผนการเฝ้าระวังโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ในวงกว้างลดการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และโรคมะเร็งเต้านมได้จำนวนหลายล้านคนทั่วโลก

            สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ (Professor John D. Clemens) จากสหรัฐอเมริกา และศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรน (Professor Jan R. Holmgren) จากราชอาณาจักรสวีเดน

             ศาสตราจารย์นายแพทย์จอห์น ดี. คลีเมนส์ และศาสตราจารย์นายแพทย์ยอน อาร์. โฮล์มเกรนทำงานร่วมกันเป็นระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดกิน โดยผลงานของทั้งสองท่านได้รับการทดสอบทางคลินิกจนเป็นที่ยอมรับโดยองค์การอนามัยโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากวัคซีนชนิดฉีดเป็นการแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดกิน นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนคลังวัคซีนสำหรับหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยงต่อการระบาดของอหิวาตกโรค ทำให้ช่วยป้องกันโรคได้ในวงกว้าง ลดการเสียชีวิตจากอหิวาตกโรคได้ในประชากรหลายล้านคนทั่วโลก

            ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

 

Announcement of the Prince Mahidol Laureates 2018

On 21 November 2018, the Prince Mahidol Award Foundation under the Royal Patronage (PMAF) held a joint press conference at Siriraj Hospital, Bangkok, to announce the 27th Prince Mahidol Laureates for 2018 in the field of Medicine and Public Health. Ms. Busadee Santipitaks, Director-General of the Department of Information, Ministry of Foreign Affairs of Thailand, in the capacity of the Chair of the PMAF Public Relations Sub-Committee, together with Professor Prasith Wattanapa, Deputy Chairperson of the PMAF, Professor Supat Vanichyakarn, Secretary-General of the PMAF, Professor Vicharn Panich, Chair of the International Awards Committee, H.E. Mr. Staffan Herrström, Ambassador of Sweden to Thailand, and Mr. Peter Haymond, Chargé d’Affaires a.i. of the United States of America, were present at the press conference.

            This year, the Prince Mahidol Award in the field of Medicine is awarded to Professor Brian J. Druker, M.D. and Professor Dr. Mary-Claire King from the United States of America.

            Professor Brian J. Druker made a significant research discovery in the field of targeted cancer therapy. He developed a prototype drug called “Imatinib” for the treatment of chronic myeloid leukemia (CML).

            Professor Mary-Clair King discovered a gene causing breast cancer, the most common cancer among women. Each year, there are over 2 million new cases of breast cancer resulting in 200,000 deaths.

            These findings demonstrate the high impact of basic research, diagnosis, and treatment of common cancers, and thus improves the quality of life for mankind and reduces the mortality rates of CML and breast cancer among millions of people worldwide.

            The Prince Mahidol Award in the field of Public Health is awarded to Professor John D. Clemens, from the United States of America, and Professor Jan R. Holmgren from the Kingdom of Sweden.

             Professor John D. Clemens and Professor Jan Holmgren worked jointly for over 30 years to study and develop oral cholera vaccine (OCV). A significant discovery from basic research and clinical test regarding vaccines against cholera has been approved by WHO. They have made a great impact by recommending that cholera vaccines be provided orally rather than injected. This has also led to the establishment of an OCV stockpile to support countries at risk of or affected by the spread of cholera to help save the lives of millions of people worldwide.

             Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn will preside over the Presentation Ceremony of the Prince Mahidol Award 2018 on 31 January 2019 at Chakri Maha Prasat Throne Hall, Bangkok.

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ