4,757 view

ความเป็นมาของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว

                                                  

              ความสัมพันธ์ไทย-จีนได้พัฒนาและครอบคลุมหลายด้าน ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวซึ่งยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย มณฑลกวางตุ้งและบริเวณภาคใต้ของจีนซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายแห่งจึงมีความสำคัญต่อไทย อีกทั้งมีภาคเอกชนไทยเข้ามาลงทุนในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้

ชาวจีนโพ้นทะเลในไทยส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากมณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางตุ้งและไทยจึงถือว่ามีความผูกพันธ์กันมายาวนาน เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญยิ่งของมณฑลกวางตุ้งและเมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์ไทย-จีนในระยะยาว รัฐบาลไทยโดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากรัฐบาลจีนจึงได้จัดตั้งสถานกงสุลใหญ่ขึ้นที่นครกว่างโจว

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 โดยมี ฯพณฯ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี และมีรองผู้ว่ามณฑลกวางตุ้งร่วมเป็นสักขีพยาน

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวมีหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจลงตราแก่มิตรชาวจีน การปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมไทย-จีน การขยายและแสวงหาลู่ทางความร่วมมือตลอดจนเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานประโยชน์ความร่วมมือระหว่างไทยกับมณฑลกวางตุ้งและมณฑลไห่หนาน ซึ่งเป็นเขตอาณาของสถานกงสุลฯ และที่สำคัญที่สุดคือคุ้มครองผลประโยชน์ของชาวไทยที่พำนักอยู่ในเขตอาณาของสถานกงสุลใหญ่

ตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2532-2544 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวตั้งอยู่ที่โรงแรม White Swan และต่อมาสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่โรงแรม Garden ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544-2557

ปีพ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ตัดสินใจลงนามสัญญาเช่าที่ดินผืนหนึ่งในพื้นที่กงสุลต่างชาติในเขตไห่จูสำหรับการก่อสร้างอาคารสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว แห่งใหม่ เพื่อรองรับการขยายความสัมพันธ์กับมณฑลกวางตุ้งและมณฑลไห่หนานในทุกมิติของความร่วมมือ       

ล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2557 สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ เลขที่ 36ถนนโหย่วเหอ เขตไห่จู่ นครกว่างโจว ซึ่งตรงกับปีที่ 25 ที่ได้มีการเปิดสถานกงสุลใหญ่ฯ ในนครกว่างโจว โดยเป็นสถานที่ทำการของ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (กระทรวงพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) สำนักงานศุลกากร (กระทรวงการคลัง) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สำนักนายกรัฐมนตรี) รวมอยู่ด้วย

 


Royal Thai Consulate-General,Guangzhou

History

        Thai-Chinese economic and political cooperation have progressed well over the years based on mutual benefits, particularly in trade, investment and tourism. The economic dynamism of Guangdong Province and the Southern region of China plays a significance role in promoting greater trade and economic cooperation between the two countries

Guangzhou is the center for Thai-Chinese economic relations as well as the gateway through which many Chinese people then travel to Thailand to visit their relatives. Furthermore, most of the overseas Chinese in Thailand, the majority of whose ancestors was from Guangdong Province, also see Guangdong as the gateway to China. Having taken these facts into consideration and with the good cooperation from the Chinese authorities, the Royal Thai Government deemed it appropriate to establish the Consulate-General in Guangzhou.

His Excellency Air Chief Marshal Siddhi Savetsila, the Minister of Foreign Affairs at the time, officially opened the Royal Thai Consulate-General in Guangzhou on 12 February 1989 (Sunday).

The Royal Thai Consulate-General acts as representative of the Thai Government in issuing visas to Chinese people, consolidates Thai-Chinese economic interest, acts as the center for cooperation and coordination between Thailand and the Chinese authorities in the Province of Guangdong and Hainan and most importantly, ensures that the rights and interests of Thai citizens in China are well protected.

From 1989-2001, the Royal Thai Consulate-General was located at the White Swan Hotel. However, from 2001-2014, it +has been moved to the Garden Hotel.

From 2014 – present, the Royal Thai consulate-General, Guangzhou has been moved to No.36 Youhe Road Haizhu District Guangzhou. Currently, the Royal Thai Consulate-General comprises officers from the Ministry of Foreign Affairs, Ministry of Commerce, Ministry of Agriculture and The Prime Minister's Office (Board of Investment).